จังหวัดราชบุรีมีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ถึง 8 ชาติพันธุ์ประกอบด้วย ชาวไทยพื้นถิ่น ชายไทยเชื้อสายจีน ชาวไทยเชื้อสายมอญ ชาวไทยเชื้อสายยวน ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ชาวไทยเชื้อสายเขมร ชาวไทยเชื้อสายลาวเวียง และ ชาวไทยเชื้อสายลาวโซ่ง กลุ่มชนเหล่านี้อพยพมาพร้อมกับวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อที่เป็นดั้งเดิมตามอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ ผ่านช่วงเวลาปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม และสิ่งกดดันจากทั้งภายในและภายนอก เช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เครือข่ายอินเทอร์เน็ต กระแสโลกาภิวัตน์ และ ระบบการสื่อสารข้อมูล ส่งผลให้โลกหลอมรวมตัวกันมีลักษณะคล้ายคลึงกัน หลายสิ่งหลายอย่างมุ่งไปหาสิ่งที่เรียกว่า “มาตรฐาน” ทั้งมาตรฐานการครองชีพ มาตรฐานอาหาร มาตรฐานผลิตภัณฑ์เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง ทําให้ความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น (Local identity) ลดลงขณะที่ความเป็นสากล (International) เพิ่มสูงขึ้น คนในท้องถิ่นมีการเปิดรับเอาวัฒนธรรมอื่นๆ เข้ามาปรับประยุกต์ใช้ในวัฒนธรรมของตน รวมถึงการอพยพย้ายถิ่นฐานของคนในพื้นที่ออกไปสู่ภายนอก ไม่ว่าจะเป็นการที่ต้องออกไปศึกษาเล่าเรียน การประกอบอาชีพทําให้มีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้านไม่ว่าจะเป็นทางภาษา ความคิด ค่านิยม อีกทั้งภายในพื้นที่เอง มีการอพยพของคนภายนอกเข้ามาสู่พื้นที่ ทําให้ลักษณะของวัฒนธรรมชุมชนเป็นวัฒนธรรมผสม เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยสรุปแล้วพบว่าสภาพของวัฒนธรรม
ชาติพันธุ์ในจังหวัดราชบุรีมีคุณลักษณะที่สําคัญ ? สถานะได้แก่วัฒนธรรมที่เคยมีหลักฐานการจดบันทึกและได้ยกเลิกการผลิตชํ้าในสังคมไปแล้ว สถานที่สอง คือวัฒนธรรมที่มีความคงอยู่แบบหดตัวมีให้เห็นได้ภายใต้โอกาสหรือกิจกรรมพิเศษเท่านั้น และวัฒนธรรมที่มีการผลิตชํ้าคงอยู่ในปัจจุบัน เช่น งานประเพณีในท้องถิ่นต่างๆ แต่มีการปรับเปลี่ยนระบบคุณค่า หรือ แนวความคิดและรูปแบบการดําเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป วัฒนธรรม
ชาติพันธุ์ในจังหวัดราชบุรี เป็นบ่อเกิดแห่งต้นทุนทางสังคมที่ทรงคุณค่าหลากหลายที่สามารถนํามาต่อยอด เพิ่มค่าทางในทางการท่องเที่ยว ผลผลิตทางวัฒนธรรมหลายชนิดกลาย เป็นเอกลักษณ์และสัญลักษณ์ที่สําคัญของจังหวัดราชบุรี เช่น ผ้าจกไทยยวน ผ้าทอบ้านไร่ ผลิตภัณฑ์เครื่องทองเหลืองบ้านเขาลอยมูลโค ของชาวไทย-ยวน ผ้าทอกะเหรี่ยง ศิลปะการปั้นโอ่ง ซึ่งมรดกทางภูมิปัญญาของชาวไทยเชื้อสายจีน พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นลาวโซ่งเขาหัวจีน วัดและสถาปัตยกรรมแบบมอญ ภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับอาหารต่างๆ ตลอดจนงานประเพณีในรอบปีของแต่ละชาติพันธุ์ทีมีการจัดงานเป็นประจําทุกปีอย่างต่อเนื่อง เช่นประเพณีสงกรานต์ข้าวแช่มอญ ประเพณีตรุษจีน ประเพณีแก้ห่อข้าวของชาวไทยลาวเวียง เป็นต้น วัฒนธรรมเหล่านี้สามารถนํามาใช้เป็นต้นทุนในการส่งเสริมการท่องเที่ยว หรือใช้เป็นสิ่งดึงดูดใจเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดราชบุรีได้