เกิดจากความต้องการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ให้หายสาบสูญไปจากสังคม มีการส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กและเยาวชน รวมถึงผู้ที่สนใจเข้าร่วมเรียนรู้กระบวนการทำผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ โดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชน และเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน โดยนางสมบัติ จันทรชิต เป็นผู้ได้รับการสืบสานภูมิปัญญาการจักรสานไม้ไผ่จากพ่อแม่ และมีโอกาสร่วมศึกษาดูงานที่จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดพิษณุโลก และเข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการจัดการสุขภาวะตำบลหนองโรง เพื่อพัฒนาฝีมือและต่อยอดงานจักรสานผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างความหลากหลายให้แก่ผลิตภัณฑ์ เช่น เปลไม้ไผ่ขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก ที่วางผลไม้ ที่ใส่แชมเปญน์ เป็นต้น ทำให้มีการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์จากต่างพื้นที่มากขึ้น สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวและชุมชนเป็นอย่างมาก
ผลผลิต
สามารถเป็นศูนย์เรียนรู้ให้แก่ชุมชนและตำบลได้ สามารถเสริมสร้างรายได้ให้กับคน
ในชุมชนรวมถึงเกิดการรวมกลุ่มอย่างเข้มแข็ง ได้ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ เช่น ตะเข่ง เปลไม้ไผ่ ที่ใส่ผลไม้ ตะกร้าใส่ขวดเชมเปญน์
ผลลัพธ์
รวมกลุ่มอย่างเข้มแข็ง เป็นการสร้างรายได้ สร้างอาชีพ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น อีกทั้งยังได้สืบทอดและถ่ายทอดภูมิปัญญาไทยจากไม้ไผ่ ได้แก่ เด็กและเยาวชน ผู้ที่สนใจ